|
|
|
|
เครือข่ายจัดประชุมวิชาการ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
รูปแบบบทความ |
|
|
|
การเตรียมบทความวิจัยฉบับเต็ม
ผู้นำเสนอผลงานจัดทำบทความฉบับเต็ม ที่มีความยาวระหว่าง 8-10 หน้า กระดาษขนาด A4 ทั้งนี้รวมรูปภาพ ตาราง และเอกสารอ้างอิง แบบตัวอักษรใช้ TH SarabunPSK ขนาด 14 ทั้งบทความ |
|
ส่วนประกอบของบทความ ประกอบด้วย
- ชื่อบทความ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- ชื่อ-สกุล คณะวิชา หน่วยงานที่สังกัด อีเมล์ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ โดยแทรกเชิงอรรถ
- บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรสั้นตรงประเด็น และเป็นการสรุปผลงานอย่างรัดกุม ครอบคลุมสาระสำคัญของการวิจัย ความยาวไม่เกิน 400 ตัวอักษร
- คำสำคัญ (Keywords) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นการกำหนดคำสำคัญที่สามารถนำไปใช้เป็นคำสืบค้นในระบบฐานข้อมูล ไม่ควรยาวมากเกินไป และไม่ควรเกิน 3-5 คำ
- ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย เป็นการบรรยายถึงความเป็นมา ความสำคัญและมูลเหตุที่นำไปสู่การวิจัย
- วัตถุประสงค์การวิจัย เป้าหมายของการศึกษาวิจัย ซึ่งต้องสอดคล้องกับชื่อเรื่องที่ศึกษาวิจัย
- วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการอธิบายวิธีการดำเนินการวิจัยอย่างกระชับและชัดเจน โดยมีองค์ประกอบ เช่น ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรที่ศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น
- สรุปผลการวิจัย ควรเสนอผลอย่างชัดเจน น่าสนใจ ตรงประเด็น เป็นผลที่ค้นพบ โดยลำดับตามหัวข้อที่ศึกษา
- อภิปรายผล อธิบายสิ่งที่ได้จากการวิจัย โดยเชื่อมโยงหรืออ้างอิงข้อมูลของานวิจัยอื่นๆ ที่สัมพันธ์กัน
- ข้อเสนอแนะ การนำไปใช้ประโยชน์และข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อการวิจัยในครั้งต่อไป
- เอกสารอ้างอิง ในบทความใช้ระบบนาม-ปี และหน้า และอ้างอิงส่วนท้ายแบบ APA Style ระบุแหล่งอ้างอิงเท่าที่ปรากฏในบทความ
- อ้างอิงภายในเนื้อหา ใช้ระบบนาม-ปี และหน้า (APA Style)
(ชื่อ-นามสกุลผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์ : หน้าที่อ้างอิง) และหรือ (ชื่อ-นามสกุลผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์)
- อ้างอิงท้ายเรื่อง
เรียงลำดับตามตัวอักษร โดยมีวิธีการเขียนอ้างอิงท้ายบทความดังตัวอย่างต่อไปนี้
|
|
|
|
ตัวอย่างการอ้างอิงท้ายบทความ
- อ้างอิงจาก หนังสือ
ชื่อ//สกุลผู้แต่ง./(พ.ศ.)./ชื่อหนังสือ./เมืองพิมพ์/:/โรงพิมพ์./เลขหน้า.
ชุติมา สัจจานันท์. (2546). การวิจัยกับอาชีพบรรณรักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ : สมาคม ห้องสมุดแห่งชาติ
- อ้างอิงจาก บทความ
2.1 บทความในวารสารวิชาการ
ชื่อ//สกุลผู้แต่ง./(พ.ศ.,/เดือนที่ตีพิมพ์เผยแพร่)./ชื่อเรื่อง./ชื่อวารสาร./เมืองพิมพ์/:/โรงพิมพ์./ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า.
ภัทรพร ตั้งสุขฤทัย. (2547, พฤศจิกายน-ธันวาคม). กินอาหารไม่เป็นโรคอ้วน. หมออนามัย. กรุงเทพฯ :
สำนักงานของวารสารหมออนามัย. 14(3), 54-59
2.2 บทความในนิตยสาร
ชื่อ//สกุลผู้แต่ง./(พ.ศ.,/เดือนที่ตีพิมพ์เผยแพร่)./ชื่อเรื่อง./ชื่อนิตยสาร./ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า.
ดุษฎี พนมยงค์. (2548, มีนาคม). คนรุ่นใหม่กับการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม. มติชนสุดสัปดาห์. 25(1284), 38
2.3 บทความในหนังสือพิมพ์
ชื่อ//สกุลผู้แต่ง./(พ.ศ.,/วัน/เดือนที่ตีพิมพ์เผยแพร่)./ชื่อเรื่อง./ชื่อหนังสือพิมพ์/:/เลขหน้า.
วิวัฒนชัย อัตถากร. (2548, 27 เมษายน). อุดมศึกษาไทยในทางแพ่ง. มติชน : 7.
- อ้างอิงจาก สารนิเทศอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Media)
ชื่อ//สกุลผู้แต่ง./(พ.ศ.ที่เผยแพร่)./ชื่อเรื่อง./[ออนไลน์]./สืบค้นจาก/:/แหล่งที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต//[พ.ศ.,/วัน/เดือนที่สืบค้นข้อมูล]
อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์. (2542). ประวัติความเป็นมาของวิชาการอุดมสมบูรณ์ของติน. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://158.108.200.11/soil/009421/Chap1#eral [2542, 25 ตุลาคม]
ชื่อ//สกุลผู้แต่ง./(พ.ศ.ที่เผยแพร่)./ชื่อเรื่อง./ชื่อวารสาร.
/ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า./[ออนไลน์]./สืบค้นจาก/:/แหล่งที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต//[พ.ศ.,/วัน/เดือนที่สืบค้นข้อมูล]
Kennrth, I. (1998). A buddist response to the nature of human right. Journal Of Buddhis Ethics seril. 2(9) [Online]. Available : http://cac.psu.edu/Jbe/ twocont.htm. [1998, 15 June]
|
|
|
|
|
|
|
|